19 กุมภาพันธ์ 2558

ตัวอย่าง Communication Diagram

ตัวอย่าง Communication Diagram
การกำหนดลำดับการทำงานของข้อความควรเริ่มต้นด้วยการสร้างลิงค์ระหว่างออบเจ็กต์ก่อน จากนั้นทำการ
ระบุข้อความต่างๆ ของระบบที่เรากำลังสนใจ ระบุลำดับให้กับข้อความเหล่านั้นโดยการใช้ตัวเลขจำนวน
เต็มเช่น 1.1, 3.2, 3.2.4 เป็นต้น นอกจากนี้มีการใช้ตัวอักษรร่วมด้วย เพื่อแสดงระดับการทา งานที่เท่ากันของ
ข้อความมากว่า 1 ข้อความ เช่น 1.1a และ 1.1b เป็นข้อความที่อยู่ระดับเดียวกัน
- ในกรณีต้องการระบุว่าข้อความใดมีการทำซ้า (ภายใต้เงื่อนไข) ให้ใช้สัญลักษณ์ดอกจัน (*)
ตามด้วยเงื่อนไขการทา ซ้า และข้อความที่ต้องการให้ทา ซ้า
- การกำหนดให้ข้อความที่มีการทา ซ้ำให้ทา งานไปพร้อมๆ กันแบบคู่ขนาน ให้ใช้สัญลักษณ์
| | ตามหลังเครื่องหมายดอกจัน
- กรณีต้องการกำหนดเงื่อนไขการทำงานให้กับข้อความ ด้วย Guard-Condition ซึ่งเป็น
เงื่อนไขที่เป็นจริงหรือเท็จช่วยเราในการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว
- สัญลักษณ์ที่ใช้จะเหมือนสัญลักษณ์การวนซ้า แต่ไม่มีเครื่องหมายดอกจันนำหน้า





     ดังนั้นสรุปได้ดังนี้ แผนภาพยูเอ็มแอลที่อยู่ในกลุ่มพฤติกรรม ประกอบด้วย 4 แผนภาพ ดังนี้
(1) แผนภาพยูสเคส (Use Case Diagrams) แสดงการปฏิสัมพันธ์ (interact) ในสองรูปแบบคือ
ระหว่าง (1) ระบบกับผู้ใช้ หรือ (2) ระบบกับระบบภายนอก (External Systems) กล่าวคือ ยูส
เคสจะแสดงว่าใครบ้างที่เป็นผู้ใช้ระบบ และผู้ใช้เหล่านั้นมีการติดต่อกับระบบในลักษณะใด
ยูสเคสมีจุดเด่นคือเป็นแผนภาพที่สามารถทา ความเข้าใจได้ง่าย นักวิเคราะห์ระบบมักจะใช้ยูส
เคสในช่วงการรวบรวมความต้องการของระบบ (System Requirement) ซึ่งจะช่วยให้
นักวิเคราะห์สามารถกา หนดขอบเขตของระบบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
(2) แผนภาพกิจกรรม (Activity Diagrams) แสดงให้เห็นกลุ่มของการกระทา หรือการปฏิบัติงานที่
เรียกว่า แอกชัน (action) ซึ่งประกอบขึ้นตามลา ดับขั้นรวมกันเป็นกิจกรรม (activity) ของงาน
แผนภาพกิจกรรมจะแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทางเลือกและเงื่อนไขของทางเลือก
ที่มีในแต่ละกิจกรรม
(3) แผนภาพสเตจแมชีน (State Machine Diagrams) แสดงสถานะของระบบตามช่วงชีวิต รวมทั้ง
แสดงเหตุการณ์ใด ๆ ที่สามารถเปลี่ยนสถานะของระบบเพื่อการเสริมสร้างความเข้าใจโดยเฉพาะในการอธิบายการทา งานที่ซับซ้อน แผนภาพนี้สามารถใช้ในการอธิบายพฤติกรรมระบบทั้งหมด หน่วยย่อยของระบบ (Subsystem) หรือแม้แต่เพียงวัตถุเดียว (Single Object) ในระบบ
(4) แผนภาพปฏิสัมพันธ์ (Interaction Diagrams) แผนภาพที่จัดในกลุ่มนี้ออกเป็น 4 แบบดังนี้
-  แผนภาพลาดับ (Sequence Diagrams) แสดงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอ็อบเจกต์ตามลาดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แผนภาพลาดับมีลักษณะที่ง่ายต่อการทาความเข้าใจ จึงมักนามาช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพการทางานของระบบ และมักจะถูกนามาใช้เสริมกับแผนภาพกิจกรรม เนื่องจากแผนภาพกิจกรรมอาจจะประกอบไปด้วยเงื่อนไขจานวนมาก ทาให้มีทางเลือกในการทางานได้หลายเส้นทาง เราจึงนาแผนภาพลาดับมาใช้ในเฉพาะเส้นทางที่เลือกบางเส้นที่ต้องการอธิบายขยายความ
-  แผนภาพการสื่อสาร (Communication Diagrams) แสดงวิธีที่อ็อบเจกต์ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งการเชื่อมโยง (connections) ที่ใช้ในการสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์นั้น ในยูเอ็มแอลเวอร์ชันแรกเรียกแผนภาพแบบนี้ว่า แผนภาพการร่วมมือ (Collaboration Diagrams)
-  แผนภาพเวลา (Timing Diagrams) แสดงการเปลี่ยนแปลงสถานะ (state) เงื่อนไข (condition) หรือบทบาท (role) ของอ็อบเจกต์ตามลาดับของเวลา โดยปกติสถานะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากการตอบสนองต่อเหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้น
- แผนภาพแสดงการปฏิสัมพันธ์อย่างหยาบ (Interaction Overview Diagrams) ใช้ในการรวบรวมแผนภาพลำดับ แผนภาพการสื่อสาร และแผนภาพเวลา เข้าด้วยกันเพื่อแสดงการปฏิสัมพันธ์ที่สาคัญที่เกิดขึ้นในระบบ

อ้างอิงจาก : รายงานการฝึกอบรม Object-Oriented Software Development with UML เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น